วันเอกราช (ประเทศอินเดีย)
วันเอกราช (ประเทศอินเดีย)

วันเอกราช (ประเทศอินเดีย)

วันประกาศเอกราชของอินเดีย เฉลิมฉลองทุกวันที่ 15 สิงหาคม และถือเป็นวันหยุดราชการในอินเดีย เพื่อรำลึกถึงการประกาศเอกราชของประเทศจากการปกครองของสหราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 1947 เมื่อรัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักรประกาศ Indian Independence Act 1947 ส่งผ่านเอกราชของรัฐสู่สภานิติบัญญัติแห่งชาติอินเดีย แต่ก็ยังคงมีพระเจ้าจอร์จที่ 6เป็นประมุขแห่งรัฐจนถึงการเปลี่ยนสู่ระบบสาธารณรัฐเต็มตัว การได้มาซึ่งเอกราชของอินเดียเป็นผลพวงมาจากขบวนการเรียกร้องเอกราชในอินเดีย ซึ่งขึ้นชื่อมากสำหรับการต่อสู้แบบอหึงสา และ civil disobedience นำโดยพรรคคองเกรสเอกราชนั้นประจวบกับการแบ่งเส้นอาณาเขตอินเดีย ซึ่งบริทิชอินเดียถูกแบ่งตามศาสนาเป็น dominion ต่าง ๆ เป็น อินเดียและ ปากีสถาน การแบ่งเขตนั้นนำไปสู่การประท้วง จลาจล ที่รุนแรง มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก และการโยกย้ายประชากรตามศาสนาที่ถูกแบ่งเส้นอาณาเขตกว่า 15 ล้านคน ที่เผชิญความรุนแรงทางศาสนา เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 1947 นายกรัฐมนตรีคนแรกของอินเดีย ชวาหะร์ลาล เนห์รู เชิญธงชาติอินเดียขึ้นสู่ยอดเสาธงด้านหน้าประตูลาหอริ เดลี จึงเป็นธรรมเนียมสืบต่อมาสู่การเชิญธงและปราศัยต่อหน้าประชาชนในทุกวันประกาศเอกราช[1] กิจกรรมต่าง ๆ นั้นจะถ่ายทอดสดทั่วประเทศโดย Doordarshan สถานีโทรทัศน์ทางการของอินเดีย โดยมักเริ่มด้วยเพลง shehnai ของ Ustad Bismillah Khan.

วันเอกราช (ประเทศอินเดีย)

ส่วนเกี่ยวข้อง วันสาธารณรัฐ
ความสำคัญ รำลึกถึงการประกาศเอกราชของประเทศอินเดีย
ครั้งแรก 15 สิงหาคม 1947
ประเภท ระดับชาติ
จัดขึ้นโดย ชาวอินเดีย
การเฉลิมฉลอง อัญเชิญธงชาติ, พาเหรด, ดอกไม้ไฟ, ขับร้องดนตรีของชาติและเพลงชาติ ชนะ คณะ มนะ, สุนทรพจน์ดดยนายกรัฐมนตรีอินเดีย และ ประธานาธิบดีอินเดีย
ชื่ออื่น स्वतंत्रता दिवस
วันที่ 15 สิงหาคม
ความถี่ รายปักษ์